สถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ประเทศไทยมักเสนอภาพว่าเป็นผู้สนับสนุนความเท่าเทียมระหว่างเพศ แต่ความเป็นจริงอาจต่างไปจากนั้นมาก
พื้นที่ออนไลน์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศที่เป็นนักกิจกรรม โดยเฉพาะในประเทศต่าง ๆ อย่างประเทศไทย ซึ่งการพูดวิจารณ์รัฐบาลมักถูกตรวจสอบและเอาผิดทางอาญาอย่างเข้มงวด
การรณรงค์ทางออนไลน์อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงและปัญหาท้าทายใหม่ ๆ และมักมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งพวกเขาก็ต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในประเทศไทยอยู่แล้ว และสำหรับผู้ที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางเพศ
นักกิจกรรมผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศต้องเผชิญกับการละเมิดทางออนไลน์ พวกเขาถูกเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวการจงใจ (doxing) ถูกแฮ็กบัญชีโซเชียลมีเดีย นักกิจกรรมผู้หญิงกว่าสิบคนถูกสอดแนมด้วยสปายแวร์เพกาซัสที่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวสูงโดยไม่ทราบแน่ชัดว่าใครมีข้อมูลส่วนตัวของตน และจะถูกนำไปใช้อย่างไร ทั้งหมดนี้เพื่อพูดเรื่องสิทธิมนุษยชนและการที่จะเป็นตัวเองในโลกออนไลน์
ความรุนแรงทางดิจิทัลในลักษณะเช่นนี้ถูกใช้ในการปิดปากนักกิจกรรมผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ มันเป็นการทำลายสิทธิในการชุมนุมประท้วงและการแสดงออกอย่างเสรี สิ่งที่เหล่านี้ทำให้ผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศบางส่วนในประเทศไทย ถอนตัวจากการทำงานรณรงค์ไปเลย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศผ่านการใช้เทคโนโลยี (Technology-facilitated gender-based violence: TfGBV). นักกิจกรรมเหล่านี้พยายามแสวงหาความยุติธรรมจากหน่วยงาน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ