เพราะการจุดเทียนย่อมดีกว่าก่นด่าความมืด

"Facebook ต้องรับผิดชอบต่อความเกลียดชังที่เกิดกับชาวโรฮิงญา"

 

ถึง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก

เราขอเรียกร้องให้คุณรับผิดชอบผ่านการมาตรการเยียวยาที่มีประสิทธิผลและความรับผิดชอบของบริษัทเมต้าต่อความโหดร้ายที่กระทำต่อชาวโรฮิงญาในเมียนมาร์ จากอัลกอริทึมของคุณที่ขยายความเกลียดชังต่อชาวโรฮิงญา ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงของกองทัพเมียนมาร์  

มาว ซอยีดุลลาวัย 22 ปีและครอบครัวของเขาถูกบังคับให้ลี้ภัยจากเมียนมาร์ในปี 2560 เนื่องจากเมต้าเป็นส่วนหนึ่งที่กระจายความเกลียดชังและการเลือกปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก มองและชุมชนของเขาจึงเรียกร้องให้บริษัทของคุณจ่ายค่าชดเชยและตั้งกองทุนโครงการด้านการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัยที่เมืองคอกส์บาร์ซาร์ในบังคลาเทศ ซึ่งปัจจุบันพวกเขาอาศัยอยู่ที่ค่ายดังกล่าว 

มาวเชื่อว่าการศึกษาจะช่วยสร้างชีวิตที่พังทลายของผู้คนในชุมชนของเขาขึ้นมาใหม่

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง....

 

  

  

...................................................................

  

...................................................................

 

อัลกอริทึมแห่งความเกลียดชังและเลือกปฏิบัติ

เมื่อ 6 ปีก่อน ‘มาว ซอยีดุลลา’ ไม่ได้มีต้นทุนชีวิตที่ดีเหมือนเด็กคนอื่นๆ  แต่เขายังชื่นชอบและสนุกกับการเล่นกีฬาฟุตบอล ทุกครั้งที่ลงสนามเขาใส่ทุกพลังที่มีเพื่อกีฬานี้ หนึ่งในความฝันของมาว ตอนนั้น…คือการได้เรียนหมอเพื่อมารักษาผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก 

ต่อมาปี พ.ศ. 2560 ตอนนั้นเขามีอายุ 15 ปี สถานการณ์บ้านเมืองที่เมียนมาเริ่มร้ายแรงขึ้น หลังจากกองทัพเมียนมาเดินหน้ากวาดล้างชาวโรฮิงญา  ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่ต้องเจอกับการถูกเลือกปฏิบัติอย่างรุนแรงจากทางการเมียนมานานหลายปี  ที่ผ่านมาพบชาวโรฮิงญาหลายพันคนถูกฆ่า ข่มขืน ทรมาน และถูกเผาหมู่บ้านของพวกเขา ด้วยความกลัวทำให้ครอบครัวของเขา ตัดสินใจลี้ภัยเดินเท้าไปยังบังคลาเทศ เพื่อไปพักพิงในพื้นที่ปลอดภัยที่ค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองคอกส์บาร์ซาร์ (Cox's Bazar) ปัจจุบันครอบครัวของเขายังอาศัยอยู่ที่นั่น  

 

 

...................................................................

 

ต่อสู้เพื่อให้เฟซบุ๊กรับผิดชอบในอัลกอลิทึมของตน 

ปัจจุบันมาว ต้องการเป็นทนายความเพื่อทวงคืนความยุติธรรมให้กับชาวโรงฮิงญา รวมถึงทุกคนที่ต้องตกที่นั่งลำบากรอบตัวเขา อีกทั้งเขายังรณรงค์ให้บริษัทเมตา เจ้าของเฟซบุ๊ก รับผิดชอบต่อการมีส่วนร่วมที่โหดร้าย หลังหลายปีก่อนการโจมตี อัลกอริธึมของบริษัทเมตา ขยายการยั่วยุต่อต้านชาวโรฮิงญาบนแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊ก ที่มีส่วนกระตุ้นความรุนแรงของกองทัพเมียนมาต่อการกวาดล้าง เลือกปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญา  

มาวและครอบครัวของเขาสูญเสียทุกอย่าง แต่เขายังมีความหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เขาและชุมชนกำลังเรียกร้องบริษัทเมตาให้ทุนการศึกษาในค่ายลี้ภัย ณ เมืองคอกส์บาร์ซาร์ ที่เขาและผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ อาศัยอยู่ เพื่อชดเชยต่อการมีส่วนร่วมยุยง ปลุกปั่น จนทำให้เกิดการสังหารที่โหดร้ายเขาเชื่อว่าการศึกษาจะช่วยสร้างชีวิตที่แตกสลายของผู้คนในชุมชนให้ดีขึ้นได้  

 

 

...................................................................